เมนู

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
เหตุธรรมทั้งหลาย และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นนเหตุธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
9. เหตุธรรม และนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม
และนเหตุธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
เหตุธรรมทั้งหลาย และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม
ทั้งหลาย และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

10. ปุเรชาตปัจจัย


[23] 1. นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุธรรม ด้วยอำนาจ
ของปุเรชาตปัจจัย.

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย
ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นนเหตุธรรม ด้วยอำนาจ
ของปุเรชาตปัจจัย.
2. นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม ด้วยอำนาจ
ของปุเรชาตปัจจัย.

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรมทั้งหลาย ด้วยอำนาจของปุเรชาต-
ปัจจัย.
3. นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม และนเหตุธรรม
ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ฯลฯ โทมนัส ฯลฯ ทิพยจักษุ ฯลฯ
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรมทั้งหลาย และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.

11. ปัจฉาชาตปัจจัย


[24] 1. เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุธรรม ด้วยอำนาจของ
ปัจฉาชาตปัจจัย.

คือ เหตุธรรมทั้งหลาย ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน
ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.
2. นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุธรรม ด้วยอำนาจ
ของปัจฉาชาตปัจจัย.

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กาย
นี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.
3. เหตุธรรม และนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุ-
ธรรม ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.

คือ เหตุธรรมทั้งหลาย ที่เกิดภายหลัง และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.